วันอังคารที่ 7 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

ห้วยน้ำดัง จ.เชียงใหม่


ห้วยน้ำดัง (Huai Nam Dang)
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม)

เป็นที่ตั้งของหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) เป็นจุดชมวิวที่สวยงามมาก ชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกอันกว้างใหญ่ยามเช้าโดยมีดอยเชียงดาวเป็นฉากหลัง และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้กำลังบานสวยงามมาก ใกล้ ๆ กับที่ทำการจะมี เส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน มีระยะทาง 1,470 เมตร ความลาดชันปานกลาง ใช้เวลาในการเดินประมาณ 1 ชั่วโมง 
เห็นดอยหลวงเชียงดาว
ตั้งเด่นตระหง่าน
ท้าทายสายลมหนาว
เหนือทะเลหมอก 

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 
จุดชมทะเลหมอกที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งในประเทศไทย ชมพระอาทิตย์ขึ้นและชมทะเลหมอกสีขาวอันกว้งไกลสุดสายตาแผ่คลุมอยู่ในหุบด้านล่าง มีเทือกดอยหลวงเชียงดาวตั้งเด่นตระหง่านท้าทายสายลมหนาวเหนือทะเลหมอกอยู่ทุกโมงยาม และในช่วงปลายฤดูหนาวดอกไม้นานาชนิดกำลังบานสวยงาม

ห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม)
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

ความสวยงามของจุดชมวิวนี้ เมื่อยืนอยู่ที่บ้านพักของห้วยน้ำดังแล้วมองไปทางทิศตะวันออก ทำให้มองเห็นสภาพธรรมชาติที่สวยงาม ทิวทัศน์ของทิวเขาอันสลับซับซ้อนซึ่งมีดอยหลวงเชียงดาวที่สูงที่สุดอยู่ใจกลาง และในช่วงเช้าตรู่ของฤดูหนาวจะเกิดทัศนียภาพของทะเลหมอกที่สวยงาม


จุดชมวิวบริเวณห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) โดย travelthai



บริเวณอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง (ดอยกิ่วลม) โดย travelthai



จุดชมวิวดอยช้าง

จุดชมวิวดอยช้าง

อยู่บนดอยช้างขึ้นไปทางเหนือของห้วยน้ำดัง มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,962 เมตร เห็นสภาพธรรมชาติของทิวเขาสลับซับซ้อน และทะเลหมอกในตอนเช้าตรู่ ที่สวยงามไม่แพ้กิ่วลม
น้ำตกห้วยน้ำดัง

น้ำตกห้วยน้ำดัง

เป็นน้ำตกที่เกิดจากลำห้วยน้ำดัง มีโขดหินมากมาย มีความสูงประมาณ 50 เมตร กว้าง 10 เมตร เป็นน้ำตกที่สวยงามมากมีความสูง 3-4 ชั้น และสภาพโดยทั่วไปชุ่มชื้นไปด้วยพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้น
โป่งเดือดป่าแป๋

โป่งเดือดป่าแป๋

โป่งเดือดป่าแป๋ คือน้ำพุร้อนที่ใหญ่ที่สุดในเมืองไทย มีชื่อทางธรณีวิทยาว่า “ไกเซอร์” เกิดจากแรงดันใต้ผิวดินมากกว่าบ่อน้ำร้อนธรรมดา โป่งเดือดมี 3 บ่อ บ่อใหญ่มีน้ำพุพุ่งสูงขึ้นถึงเกือบ 2 เมตร ทุก 30 วินาที มีความร้อนประมาณ 99 องศาเซลเซียส เป็นเรื่องน่าสังเกตว่าหากมีการปรบมือ หรือส่งเสียงดังใกล้โป่งเดือด น้ำพุร้อนแห่งนี้จะพวยพุ่งขึ้นสูงกว่าปกติทีเดียว ..อ่านต่อ..
ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น

ห้วยน้ำรู หรือ ดอยสามหมื่น

ตำบลเมืองคอง อำเภอเชียงดาว มีหมู่บ้านชาวเขาเผ่าลีซอ ทัศนียภาพสวยงาม และชมการปลูกกาแฟและไม้ผลเมืองหนาว
การเดินทาง ดอยสามหมื่น ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่ ประมาณ 130 กิโลเมตร ใช้ถนนสายเชียงใหม่-ห้วยน้ำดัง และเลยเข้าไปทางห้วยน้ำดังอีก 20 กิโลเมตร ทางยังไม่ลาดยางใช้ได้เฉพาะฤดูแล้งเท่านั้น ใช้เวลาเดินทางประมาณ 4 ชั่วโมง มีบ้านพักแต่ต้องจองล่วงหน้าอย่างน้อย 2 เดือน ที่ส่วนอนุรักษ์ต้นน้ำ บางเขน กรุงเทพฯ โทร. 0 2579 7586-7

ดู เชียงใหม่ ในแผนที่ขนาดใหญ่กว่า

การเดินทาง อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง


การเดินทางโดยรถยนต์ :

  • เชียงใหม่ - ห้วยน้ำดังจากอำเภอเมืองเชียงใหม่ มาตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 สายเชียงใหม่-ฝาง ระยะทางประมาณ 37 กิโลเมตร และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย (อำเภอแม่แตง) แล้วเลี้ยวซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1095 (สายมาลัย-ปาย) อีกประมาณ 65 กิโลเมตร จนถึงช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือซึ่งมีป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าถึงบริเวณห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานฯ และหากเดินทางต่อไปอีก 1 กิโลเมตร ถึงศูนย์บริการนักท่องเที่ยว แล้วเดินทางต่อไปอีกระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมวิวดอยช้าง ถ้าเดินทางต่อไปอีกตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 จากหลักกิโลเมตรที่ 66 ไปยังอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  • แม่ฮ่องสอน - ปาย - ห้วยน้ำดัง ใช้เส้นทาง 1095 จากแม่ฮ่องสอนเข้า อ.ปาย และจาก อ. ปายมาที่ปากทางห้วยน้ำดังระยะทาง 40 กม. แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าห้วยน้ำดัง

การเดินทางโดยรถประจำทาง :

  • จากเชียงใหม่ สามารถต่อรถที่ขนส่งอาเขตเชียงใหม่ สายเชียงใหม่ - ปาย (มีทั้งรถบัสและรถตู้) บอกคนขับจอดส่งที่ห้วยน้ำดังจากนั้นก็ต้องรอโบกรถเพื่อขึ้นไปที่ห้วยน้ำดังครับ
  • จากแม่ฮ่องสอน ต่อรถที่ท่ารถเปรมประชา (บัสหรือตู้) สายแม่ฮ่องสอน - ปาย - เชียงใหม่ ลงที่ปากทางเข้าห้วยน้ำดังแล้วรอโบกรถเข้าไปตามเคยครับ
  • ปาย - ห้วยน้ำดัง จากปายสามารถต่อรถได้มากหน่อยครับทั้งรถบัสเข้าเชียงใหม่และสองแถวท้องถิ่น เช่น ปาย - ป่าแป๋ , ปาย - แม่แสะ
  • ***ทุกสายต้องลงที่ปากทางเข้าห้วยน้ำดังแล้วโบกรถเข้าไปอย่างเดียว
    พิกัด GPS อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง 
  • N 19.2987 , E 98.5961
  • N 19 17' 55.32", E 98 35' 45.96"

รู้ก่อนเดินทาง

  • ชื่อนี้ไม่ต้องอถิบายมากเพราะว่าโดยมากนักท่องเที่ยวจะรู้กันอยู่แล้วของความขึ้นชื่อของ "ทะเลหมอก" ที่ห้วยน้ำดัง ที่นี่จะมีลานกลางเต้นท์และบ้านพัก (ซึ่งมักเต็มตลอดในหน้าหนาว) ห้องน้ำและร้านอาหารไว้บริการนักท่องเที่ยว แต่ในช่วงหน้าหนาวจะรองรับนักท่องเที่ยวได้ไม่เพียงพอกับปริมาณนักเดินทางที่ขึ้นมากางเต้นท์ ดังนั้นนักท่องเที่ยวควรเตรียมอาหารติดมาด้วยจะดีมาก ๆ และควรมาถึงห้วยน้ำดังก่อนบ่าย 3 โมงในช่วงวันหยุดยาวเพ่อจับจองที่กางเต้นท์ครับผม

สถานที่ท่องเที่ยวในเส้นทางเดียวกัน

เชียงใหม่ - น้ำตกหมอกฟ้า - โป่งเดือดป่าแป๋ - อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง - บ่อน้ำร้อนท่าปาย - ปาย - ปายแคนยอน - วัดน้ำฮู - หมู่บ้านศูนย์วัฒนธรรมจีนยูนนาน (บ้านสันติชล) - น้ำตกหมอแปง - ถ้ำน้ำลอดปางมะผ้า - ถ้ำแม่ละนา - อุทยานแห่งชาติถ้ำปลาผาเสื่อ - ภูโคลน - วนอุทยานน้ำตกผาเสื่อ - ปางอุ๋ง - หมู่บ้านรักไทย (แม่ออ) - แม่ฮ่องสอน
ลานกางเต้น ห้วยน้ำดัง

ที่พัก & ร้านอาหาร

  • ค่าธรรมเนียมเข้าอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง คนไทย ผู้ใหญ่ 40 บาท เด็ก 20 บาท ต่างชาติ ผู้ใหญ่ 200 บาท เด็ก 100 บาท
  • มีบ้านพักบริการ รวมทั้งสถานที่กางเต็นท์ ร้านอาหาร และศูนย์บริการนักท่องเที่ยว รายละเอียดติดต่อ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หมู่ที่ 5 ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ 50300 โทร. 0 5326 3910, 0 5354 8491, 0 5347 1669 หรือ กรมอุทยานแห่งชาติฯ โทร. 0 2562 0760 www.dnp.go.th
  • อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง จะทำการปิดลานกางเต็นท์ที่ 1-5 บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติ เส้นทางเดินป่าล่องแพน้ำแม่แตง เส้นทางศึกษาธรรมชาติดอยช้าง และเส้นทางศึกษาธรรมชาติเอื้องเงิน ระหว่างวันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายนของทุก
ที่ตั้งและแผนที่
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
หมู่ 5 ต.กึ๊ดช้าง อ. แม่แตง จ. เชียงใหม่ 50150
โทรศัพท์ : 0 5324 8491, 0 5326 3910, 08 4908 1531 (มือถือ) โทรสาร : 0 5324 8491

หัวหน้าอุทยานแห่งชาติ : นายวัชระ วทัญญูคุณากร

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอแม่แตง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีสภาพป่าและธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามและจุดชมวิวที่สามารถชมบรรยากาศอันร่มรื่น โดยเฉพาะบริเวณห้วยน้ำดัง ที่มีชื่อว่าทะเลหมอกที่งดงามยิ่ง มีชื่อเสียงแห่งหนึ่งของประเทศไทย อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังมียอดดอยที่มีธรรมชาติงดงามอีกหลายแห่ง เช่น ดอยช้าง ดอยสามหมื่น รวมทั้งมีโป่งเดือดซึ่งเป็นน้ำพุร้อนธรรมชาติ ส่วนการล่องแพในลำน้ำแม่แต่งก็เป็นที่นิยมมากขึ้นเรื่อย ครอบคลุมพื้นที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร

ตามมติที่ประชุมคณะอนุกรรมการข้าราชการพลเรือน (อ.ก.พ.) ประจำกรมป่าไม้ ครั้งที่ 9/2530 เมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2530 ให้กองอนุรักษ์ต้นน้ำ และกองอุทยานแห่งชาติประสานงานกัน จัดส่งเจ้าหน้าที่ไปสำรวจพื้นที่บริเวณหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จังหวัดเชียงใหม่บางส่วน เพื่อพิจารณาจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติตามข้อเสนอแนะของกองอนุรักษ์ต้นน้ำ กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/ ลงวันที่ 3 ธันวาคม 2530 กรมป่าไม้ให้ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 ไปทำการสำรวจพื้นที่ร่วมกับหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่แจ่มหลวง) และหัวหน้าหน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) ซึ่งได้รายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ทป)/86 ลงวันที่ 3 เมษายน 2531 แต่เนื่องจากยังขาดรายละเอียดต่างๆ และขอบเขตพื้นที่ที่เหมาะสมในการกำหนดเขตอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับวนอุทยานโป่งเดือด จังหวัดเชียงใหม่ มีหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/10 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2531 แจ้งว่า เนื้อที่ใกล้เคียงวนอุทยานมีความเหมาะสมที่จะรวมกับพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ

กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/950 ลงวันที่ 16 สิงหาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้ให้ นายสวัสดิ์ ทวีรัตน์ เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 หัวหน้าวนอุทยานโป่งเดือดไปสำรวจเบื้องต้นบริเวณดังกล่าว ได้รับรายงานผลการสำรวจตามหนังสือ ที่ กษ 0713(ปด)/74 ลงวันที่ 14 ธันวาคม 2531 ว่า ได้ทำการสำรวจร่วมกับ นายณรงค์ เจริญไชย เจ้าพนักงานป่าไม้ 4 พื้นที่บริเวณดังกล่าวมีสภาพป่าธรรมชาติที่สมบูรณ์ ภูเขาสูงชันสลับซับซ้อน เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ


กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ที่ กษ 0713/206 ลงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2532 เสนอกรมป่าไม้ขอความเห็นชอบ เพื่อนำเรื่องการจัดตั้งอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังเข้าพิจารณาในที่ประชุมคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ เพื่อให้ความเห็นชอบกำหนดบริเวณพื้นที่หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 2 (ห้วยน้ำดัง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 4 (แม่จอกหลวง) หน่วยพัฒนาต้นน้ำที่ 9 (ห้วยน้ำรู) บางส่วน และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบน ในป่าสงวนแห่งชาติป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลกี๊ดช้าง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และ ตำบลแม่อี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีเนื้อที่ประมาณ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร หรือ 782,575 ไร่ เป็นอุทยานแห่งชาติตามพระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ต่อไป

ต่อมาได้มีวิทยุกองอุทยานแห่งชาติที่ กษ 0712 ทับ 97 ลงวันที่ 27 พฤศจิกายน 2534 ให้อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ประสานงานกับหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และให้สำรวจพื้นที่บางส่วนของเขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ และพื้นที่วนอุทยานโป่งเดือด ในท้องที่ตำบลเมืองคอน อำเภอเชียงดาว และตำบลป่าแป๋ ตำบลเมืองกาย อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติเพิ่มเติมประมาณ 118,906.25 ไร่ หรือ 190.25 ตารางกิโลเมตร เนื่องจากพบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีสภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ มีศักยภาพสูงมาก มีจุดเด่นที่สวยงาม เช่น โป่งเดือด น้ำตก ลุ่มน้ำแม่แตง รวมทั้งความหลากหลายของพืชพรรณ และสัตว์ป่าที่ชุกชม มีความเหมาะสมอย่างยิ่งที่ต้องเร่งดำเนินการกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติโดยด่วน

อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้ประกาศให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าเชียงดาว และป่าแม่แตงในท้องที่ตำบลเปียงหลวง ตำบลเมืองแหง อำเภอเวียงแหง ตำบลกืดช้าง ตำบลป่าแป๋ อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ และป่าแม่ปายฝั่งซ้ายตอนบนในท้องที่ตำบลเวียงเหนือ ตำบลแม่ฮี้ อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ซึ่งประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 112 ตอนที่ 33ก ลงวันที่ 14 สิงหาคม 2538 มีเนื้อที่ประมาณ 782,575 ไร่ หรือ 1,252.12 ตารางกิโลเมตร นับเป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 81 ของประเทศ

ขนาดพื้นที่
782575.00 ไร่

หน่วยงานในพื้นที่
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
หน่วยพิทักษ์ฯส่วนกลาง(เอื้องเงิน)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.1(โป่งเดือด)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.2(โป่งร้อน)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.3(ห้วยเฮี้ยะ)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.4(สบก๋าย)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.5(น้ำตกแม่หาด)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.6(น้ำตกแม่ลาด)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.7(ไทรงาม)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.8(ดอยสามหมื่น)
หน่วยพิทักษ์ฯที่นด.9(ห้วยหก)

ภาพแผนที่

ลักษณะภูมิประเทศ
สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาและหุบเขาสลับกัน เป็นแนวยาวขนานกันในแนวเหนือ-ใต้ของเทือกเขาแดนลาว เทือกเขาถนนธงชัย และเทือกเขาผีปันน้ำ ที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางธรณีที่มีการแทรกดันของหินหนืด และแรงบีบอัดในแนวตะวันออก-ตะวันตก ทำให้พื้นผิวโก่งงอกลายเป็นภูเขาและเทือกเขา และมีหุบเขาที่เกิดจากรอยเลื่อนที่ทรุดต่ำลง รวมทั้งได้มีการสึกกร่อนที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และทางเคมี ตลอดจนการทับถมของตะกอนน้ำพาทำให้เกิดเป็นที่ราบแคบๆ ระหว่างภูเขาทั้งสองฝั่งของลำน้ำ มีความสูงตั้งแต่ 400-1,962 เมตรจากระดับน้ำทะเล มีภูเขาที่สูงที่สุดคือ ดอยช้าง เป็นป่าต้นน้ำลำธารของลำน้ำสายสำคัญ คือ แม่น้ำแตงและแม่น้ำปาย จัดอยู่ในพื้นที่ลุ่มน้ำตั้งแต่ชั้น A ถึงชั้น 1A มีลำห้วยน้อยใหญ่มากมาย ได้แก่ ห้วยเหี้ยะ ห้วยแม่ยะ ห้วยฮ่อม ห้วยน้ำดัง ห้วยแม่สลาหลวง ห้วยโป่ง น้ำงุม ห้วยแม่แพลม ห้วยงู ห้วยแม่เย็นหลวง ห้วยน้อย ห้วยฮ่อม ห้วยหก ห้วยแม่ฮี้ ห้วยขาน ห้วยแม่ปิง ห้วยแม่จอกหลวง เป็นต้น 

ลักษณะภูมิอากาศ
สภาพอากาศโดยทั่วไปเย็นสบายตลอดปี อุณหภูมิเฉลี่ยประมาณ 20 องศาเซลเซียส อากาศหนาวเย็นในช่วงเดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 8 องศาเซลเซียส ช่วงเดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดเฉลี่ยประมาณ 23 องศาเซลเซียส อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังคาบเกี่ยวพื้นที่ 2 จังหวัด คือ จังหวัดเชียงใหม่และจังหวัดแม่ฮ่องสอน พื้นที่ป่าอยู่ในเขตมรสุม กล่าวคือ พื้นที่นี้ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมสะวันตกเฉียงเหนือนอกจากนั้นยังอยู่ภายใต้อิทธิพลของลมพายุไซโคลน ด้วยจึงทำให้สภาพอากาศโดยทั่วไปมี 3 ฤดูดังนี้

ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 24 องศาเซลเซียสและ ต่ำสุดประมาณ 10 องศาเซลเซียส ปริมาณฝนเฉลี่ยตลอดปี 1,134 มิลลิเมตร ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้

ฤดูหนาว ตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 20 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 2 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือ

ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนมีนาคมถึงเดือนเมษายน อุณหภูมิสูงสุดประมาณ 28 องศาเซลเซียส ต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 12 องศาเซลเซียส ทิศทางลมมาจากทิศตะวันตกเฉียงใต้ 

พืชพันธุ์และสัตว์ป่า
อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังสภาพทางธรรมชาติยังคงความอุดมสมบูรณ์ จึงทำให้เกิดสังคมพืชหลากหลายชนิด ประกอบด้วย

ป่าดิบชื้น ขึ้นปกคลุมสองฝั่งของลำน้ำในพื้นที่ที่มีความสูง 500-800 เมตรจากระดับน้ำทะเล พันธุ์ไม้ที่สำคัญได้แก่ เติม อวบดำ หว้า งิ้วป่า ปอตูบหูช้าง ผ่าเสี้ยน มันปลา เปล้าใหญ่ ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ เอื้องหมายนา มันดง ม้าสามต๋อน เฒ่าหลังลาย หญ้าถอดบ้อง ตองกง เครือออน กลอย สายหยุด หัสคุณ ออสมันด้า และ เล็บเหยี่ยว เป็นต้น

ป่าดิบเขา พบในพื้นที่ทีเป็นหุบเขาและพื้นที่ลาดชันที่สภาพอากาศมีความชื้นค่อนข้างสูงตลอดปี ในระดับความสูง 1,650-1,900 เมตรจากระดับน้ำทะเล ชนิดไม้ที่สำคัญได้แก่ ก่อกระดุม ก่อแดง สนสามใบ เม็ดชุนตัวผู้ ช้าส้าน มะมือ ก่วม เต้าหลวง จำปีหลวง มณฑาป่า เหมือดดง เดื่อปล้องหิน ตะไคร้ต้น สารภีป่า กำลังเสือโคร่ง กะทัง ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่าง ได้แก่ กล้วย ต่างไก่ป่า พลูช้าง พญาดง หญ้าคมบาง ตองกง พริกไทย ดาดตะกั่ว และกาหลา เป็นต้น

ป่าเบญจพรรณ พบกระจายตัวเป็นพื้นที่กว้างที่ระดับความสูงต่ำกว่า 900 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง มีพันธุ์ไม้ที่สำคัญ ได้แก่ กาสามปีก กุ๊ก แคหัวหมู แดง ตะคร้ำ ประดู่ มะเกลือ มะกอก ตังหน ชิงชัน โมก ฯลฯ ไม้พุ่มและพืชพื้นล่างได้แก่ คนทา คัดเค้าเครือ เฒ่าหลังลาย เต่าร้าง ผักแว่น สะบ้าลิง สาบเสือ บุก ลิเภา ชายผ้าสีดา เกล็ดปลา หญ้าขัด และพ่อค้าตีเมีย เป็นต้น ป่าเต็งรัง พบโดยทั่วไปในพื้นที่ที่ระดับความสูงต่ำกว่า 800 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลปานกลาง ชนิดไม้ที่สำคัญ ได้แก่ เต็ง เหียง พลวง รัง รกฟ้า พะยอม ตีนนก ติ้วขน สมอไทย ส้านใหญ่ มะขามป้อม ยอป่า แสลงใจ เค็ด ฯลฯ ไม้พุ่มและไม้พื้นล่าง ได้แก่ กะตังใบ โสมชบา กระมอบ หนาดคำ ตาฉี่เคย ข้าวสารป่า และยาบขี่ไก่ เป็นต้น

ด้วยความอุดมสมบูรณ์ของสภาพป่า จึงชุกชุมไปด้วยสัตว์ป่านานาชนิด ได้แก่ ช้างป่า กวางป่า หมีควาย เก้ง กระจงเล็ก เลียงผา หมูป่า แมวดาว ชะมดเช็ด ลิงวอก ชะนีมือขาว พังพอน เม่นใหญ่ ไก่ป่า ไก่ฟ้าสีเงิน นกเขาเปล้า นกขุนทอง นกขมิ้นท้ายทอยดำ นกปรอดคอลาย เหยี่ยวต่างสี กะท่าง เต่าปูลู เต่าใบไม้ ก้งก่าแก้ว แย้ ตะกวด งูเหลือม งูเขียวดอกหมาก งูเห่า กบทูด ปาด เขียดป่าไผ่ และอึ่งลาย เป็นต้น ในบริเวณแม่น้ำและลำห้วยต่างๆ พบปลาจาด ปลามอน ปลาเลียหิน ปลาเวียน ปลาค้อ ปลาค้างคาว ปลาติดหิน และปลาก้าง เป็นต้น 

การเดินทาง
รถยนต์
โดยเดินทางจากอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 107 และเข้าทางแยกซ้ายมือที่ตลาดแม่มาลัย อำเภอแม่แตง ไปตามเส้นทางหลวงหมายเลข 1095 สายแม่มาลัย - ปาย ท่านสามารถเดินทางเข้าถึงแหล่งท่องเที่ยว และใช้บริการต่างๆ ของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดังได้โดยสะดวก ดังนี้

ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 42 มีทางแยกขวามือ จะพบป้ายบอกทางเข้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นด.1 (โป่งเดือด) ระยะทางประมาณ 6.5 กิโลเมตร ก็จะถึงโป่งน้ำร้อนโป่งเดือด บริเวณนี้มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ห้องอาบน้ำแร่ ห้องอบไอน้ำ ห้องน้ำ ห้องสุขา และร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว

ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 65-66 มีทางแยกขวามือ จะพบป้อมยามตั้งอยู่ทางเข้าที่ทำการอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง ระยะทางประมาณ 6 กิโลเมตร เดินทางต่อไปอีก ระยะประมาณ 3 กิโลเมตร ก็จะถึงจุดชมดอยกิ่วลม บริเวณนี้มีบ้านพัก สถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ ห้องสุขา และร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว

ช่วงหลักกิโลเมตรที่ 87-88 ถึงบ้านแม่ปิง มีทางแยกขวามือ จะพบป้ายบอกทางเข้าหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ นด.2 (โป่งน้ำร้อนท่าปาย) ระยะทางประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงโป่งน้ำร้อนท่าปายอันเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกจุดหนึ่ง บริเวณนี้มีสถานที่กางเต็นท์ ห้องน้ำ ห้องสุขา และร้านอาหาร ให้บริการนักท่องเที่ยว

สำหรับการเดินทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวอื่นๆ ท่านสามารถหาข้อมูลได้ที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยวอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง หรือโทรสอบถามได้โดยตรงกับอุทยานแห่งชาติ

แผนที่เส้นทาง
เส้นทางไปอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

ภาพทิวทัศน์
น้ำตกแม่หาด อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
บริเวณรอบๆพระตำหนักเอื้องเงิน
น้ำตกแม่ลาด อ.เวียงแหง จ.เชียงใหม่
บรรยากาศยามเช้าบริเวณจุดชมวิวดอยกิ่วลม
ความอุดมสมบูรณ์ของป่าดอยช้าง เขตรับผิดชอบของอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
วิวรอบๆเส้นทางเดินไปยังน้ำพุร้อนโป่งเดือดป่าแป๋ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
น้ำพุร้อนโป่งเดือดป่าแป๋ อุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง
บรรยากาศตอนเช้าที่ห้วยน้ำดัง
ทะเลหมอกตอนเช้าที่จุดชมวิวดอยกิ่วลม
ชมดอกขั้นบรรได
ทอดกาย สายตา กับขุนเขา สัมผัสอากาศ ชมทะเลหมอก เก็บภาพประทับใจ จุดชมวิวดอยกิ่วลม ห้วยน้ำดัง
ชอบถ่ายภาพชอบลมหนาว หนาวนี้ที่หัวยน้ำดัง
จุดชมวิวดอยกิ่วลม

แผนที่ผังบริเวณ
ผังบริเวณอุทยานแห่งชาติห้วยน้ำดัง

สิ่งอำนวยความสะดวก ที่พัก และสถานที่กางเต็นท์

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น